วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553



ตอบข้อ 3

กรดนิวคลีอิก
กรดนิวคลีอิก ( nucleic acid )
เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุ์กรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปให้แสดงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
กรดนิวคลีอิกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1) กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid ; DNA)
2) กรดไรโบนิวคลีอิก (Ribonucleic acid ; RNA)
DNA พบในนิวเคลียสของเซลล์ ส่วน RNA จะอยู่ในไซโตพลาสซึม DNA มีหน้าที่เก็บและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ทั้ง DNA และ RNA ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์โปรตีนในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย

3.1 องค์ประกอบของกรดนิวคลีอิก
1) น้ำตาล
น้ำตาลที่พบใน DNA เป็นชนิด 2–ดีออกซีไรโบส (2–deoxyribose)แต่น้ำตามที่พบใน RNA คือ ไรโบส (ribose) น้ำตาลทั้งสองชนิดเป็นน้ำตาล D–อัลโดเพนโทส (D–aldopentose) ซึ่งเป็นน้ำตาลประเภทแอลดีไฮด์ที่มีมีคาร์บอน 5 อะตอม และจะอยู่ในรูปของบีตาฟิวราโนส (b–furanose)
2) เบสอินทรีย์
เบสอินทรีย์ที่พบในกรดนิวคลีอิกจะเป็นเบสชนิดเฮเทอโรไซคลิก (heterocyclic : เป็นวงแบบอะโรมาติกแต่มีอะตอมอื่นในวงนอกเหนือไปจากอะตอมคาร์บอน เช่น N ) ซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ จำแนกตามแบบโครงสร้างได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เป็นอนุพันธ์ของพิวรีน (purine) และกลุ่มที่เป็นอนุพันธ์ของพิริมิดีน (pyrimidine)
3) นิวคลีโอไซด์
นิวคลีโอไซด์ (nucleoside) ประกอบด้วยเบสอินทรีย์ชนิดเฮเทอโรไซคลิก ซึ่งมีไนโตรเจนจับอยู่กับน้ำตาลเพนโทส 1 หรือ 2 หน่วย ซึ่งอาจจะเป็น D–ไรโบส หรือ D–2–ดีออกซีไรโบส พันธะระหว่างน้ำตาลและเบสจะเป็นพันธะระหว่าง C–1 ของน้ำตาลกับไนโตรเจนตำแหน่งที่ 9 ของพิวรีนเบส หรือไนโตรเจนตำแหน่งที่ 1 ของพิริมิดีนเบส เช่น ยูริดีน (uridine) และ 2–ดีออกซีอะดีโนซีน (2–deoxyadenosine) เป็นต้น
4) นิวคลีโอไทด์
นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เป็นฟอสเฟตเอสเทอร์ของนิวคลีโอไซด์ นิวคลีโอไซด์จะใช้หมู่ไฮดรอกซิลในน้ำตาลทำปฏิกิริยากับกรดฟอสฟอริกเกิดเป็นพันธะฟอสเฟตเอสเทอร์
3.2 โครงสร้างของกรดนิวคลีอิก
1) โครงสร้างปฐมภูมิ
โครงสร้างแบบนี้เป็นระบบสายตรงโดยนิวคลีโอไทด์ทั้งใน DNA และ RNA จับกันด้วยพันธะฟอสเฟตเอสเทอร์ระหว่างหมู่ –OH ที่ C–3’ ในหน่วยหนึ่งของนิวคลีโอไทด์กับหมู่ฟอสเฟตที่ C–5’ ของเพนโทสในนิวคลีโอไทด์อีกหน่วยหนึ่ง ภาพต่อไปนี้แสดงส่วนหนึ่งในโซ่ของ DNA และ RNA ซึ่งต่างก็ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 4 หน่วยที่แตกต่างกัน
2) โครงสร้างทุติยภูมิ
โครงสร้างแบบนี้เป็นสายแบบเกลียวคู่ (double helix) โดยจะมีโซ่ของ DNA แบบสายตรง 2 สายมาวางขนานกัน แต่สวนทางกัน (antiparallel) และมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างไฮโดรเจนกับออกซิเจน หรือไนโตรเจนที่อยู่ต่างสายกัน


ที่มา : http://nucleic-laddawan.blogspot.com/2009/02/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น