วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553



ตอบข้อ 1

แป้งไม่เกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ถ้าไฮโดรไลซ์แป้งด้วยการต้มกับสารละลายกรด แป้งจะถูกไฮโดรไลซ์ได้กลูโคส ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ ได้ตะกอนสีแดงอิฐของ Cu2O
แป้งในสภาวะที่เป็นกรดจะถูกไฮโดรไลซ์ได้ง่าย ได้สารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง เรียกว่า เด็กซ์ตริน (Dextrin) เมื่อถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปได้มอลโทสและกลูโคสตามลำดับ แป้งที่อยู่ในร่างกายจะถูกย่อยโดยเอนไซม์อะไมเลสและมอลเทส ปฏิกิริยา คาร์โบไฮเดรตได้ เช่น ปฏิกิริยาต่อไปนี้
ปฏิกิริยากับสารทอลเลนส์
สารทอลเลนส์ (Tolle’s reagent) ใช้ทดสอบแอลดีไฮด์ ให้ผลิตภัณฑ์เป็นคาร์บอกซิเลตไอออน (carboylate ion) และโลหะเงินเกิดเป็นเงาเหมิอนกระจกเงาเคลือบอยู่ด้านในของหลอดทดลอง
ปฏิกิริยากับสารละลายเฟห์ลิงและสารละลายเบเนดิกต์
น้ำตาลรีดิวซิง (reducing sugar) นอกจากจะเกิดปฏิกิริยากับสารทอลเลนส์แล้ว ยังทำปฏิกิริยากับสารละลายเฟห์ลิง (Fehling solution) และสารละลายเบเนดิกต์ (Benedict’s solution) ให้เผลิตภัณฑ์เป็นเกลือของกรดแอลโดนิกและตะกอนสีแดงอิฐของ Cu2O
ปฏิกิริยาการเกิด เอสเทอร์ (esterification)
เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซีจำนวนมาก เมื่อทำปฏิริยากับแอซิดแอน ไฮไดรด์ จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเอสเทอร์ (ester) เช่น ปฏิกิริยาของ a–D–กลูโคไพราโนส (a–D–กลูโคไพราโนสglucopyranose) กับแอซิติกแอนไฮโดรด์ โดยมีพิริดีน เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา a–D–กลูโคไพราโนสเพนตะแอซีเตต (a–D–glucopyranose pentaacetate)

1. คาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกันมีสมบัติต่างกัน
2. การทดสอบน้ำตาลใช้สารละลายเบเนดิกต์ คือ เปลี่ยนสีของสารละลายเบเนดิกต์จากสีฟ้าเป็นสีเขียวแล้วเหลือง ในที่สุดจะได้ตะกอนสีส้มแดง ตามลำดับ
3. แป้งไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ แต่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนให้สีน้ำเงิน
4. เซลลูโลสไม่ทำปฏิกิริยาทั้งสารละลายเบเนดิกต์และสารละลายไอโอดีน
5. แป้งสามารถย่อยให้เป็นน้ำตาลได้ โดยการต้มกับกรดไฮโดรคลอริก

ในการแช่สารละลายของน้ำตาลซูโครสและน้ำแป้ง กับสารละลายเบเนดิกต์ในน้ำเดือด ให้แช่ไว้ภายในเวลาที่กำหนด ถ้าแช่นานเกินไป ซูโครสหรือน้ำแป้งบางส่วนจะถูกเบสในสารละลายเบเนดิกต์ทำให้แตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และเกิดปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ทำให้เกิดตะกอนสีส้มแดงเล็กน้อย

การต้มสารละลายกลูโคส ซูโครส แป้ง และ สำลี กับ กรดไฮโดรคลอริก เพื่อทำให้สารละลายเป็นกลางด้วยสารละลายโซเดียวไฮดรอกไซด ์ แล้วทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์ ปรากฏว่า น้ำตาลซูโครส และ น้ำแป้งมีตะกอนสีส้มแดงหรือสีแดงอิฐเกิดขึ้น แสดงว่ากรดไฮโดรคลอริกทำให้น้ำตาลซูโครสและแป้งแตกตัวเป็นน้ำตาลโมเลกลุเดี่ยวได้

ที่มา :
http://www.suriyothai.ac.th/library/studentshow/st2545/4-5/no01-13/eat_3.html





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น